สำหรับวันนี้ก็เช่นเดียวกันผู้เขียนทำเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตหอพักมี 2 อัพลิงค์ ลิงค์ที่ 1 เป็นทรู ส่วนลิงค์ที่ 2 เป็นทีโอที ประกฎว่าผู้เขียนไม่สามารถตรวจสอบไอพีแวนของลิงค์ที่ 2 ได้เลยว่าหมายเลขอะไร นั่นคือที่มาของการติดตั้ง noip บนอินเทอร์เฟสที่ 2 เพื่อตรวจสอบ wan ลิงค์ที่ 2 หรือลิงค์สำรองนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดและติดตั้งแพ็คเกจกันก่อน
wget http://www.no-ip.com/client/linux/noip-duc-linux.tar.gz
ขั้นตอนที่ 2 แตกไฟล์ คอมไพล์และติดตั้งแพคเกจ
tar xzvf noip-duc-linux.tar.gz cd noip-2.1.9-1/ make make install
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการกำหนดค่าให้กับโปรแกรม noip2 ก่อนอื่นเราต้องมีชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของ noip.com ก่อนตามรูป
/usr/local/bin/noip2 -Cหลังจากเรียกคำสั่งข้างต้นโปรแกรมจะบังคับให้เราตั้งค่า ผู้เขียนเลือกเป็นอินเทอร์เฟซ ppp1
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการรันโปรแกรม
/usr/local/bin/noip2
ลองกลับเข้าไปดูผลลัพธ์ที่เวบnoip.com ตามรูปจะต้องแสดงค่าไอพีแอดเดรสปัจจุบันของอินเทอร์เฟซ WAN 2 หรือลิงค์สำรอง จากตัวอย่างจะเห็นว่า WAN 1 คือหมายเลขไอพี 115.87.31.7 ส่วน WAN 2 คือหมายเลขไอพี 180.180.137.24
ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการ gps ติดตามรถ เอื้อเฟื้อพื้นที่บล็อกดีๆ เพื่อเป็นเวทีให้นำเสนอเรื่องราวดีๆ อยู่เสมอมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น