วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

ติดตั้ง wordpress บนเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu 14.04.1 LTS

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกดีๆ ของคนรักโอเพนซอร์สกันอีกครั้งหนึ่ง เป็นประจำที่ผู้เขียนมีเรื่องราวดีๆ ก็จะได้นำเสนอหรือจดบันทึกกันลืมกันอยู่เสมอๆ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนมัวแต่ผลัดไว้ก่อนไม่ได้มีเวลาเข้ามาบอกเล่าสักที พอต้องกลับมาทำใหม่อีกครั้งคราวนี้ยุ่งละสิ เคยทำสำเร็จครั้งก่อนทำยังไง

ผู้เขียนเคยติดตั้ง wordpress บนเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu 14.04.1 LTS ไปเมื่อปลายๆปีที่แล้วก็ผ่านไป 3 เดือน เอกสารประกอบก็จำไม่ได้ พอต้องรีบกลายเป็นว่ามึนงงกันอยู่สองสามวัน เพิ่งปะติดปะต่อเรื่องราวที่เคยทำสำเร็จไปก็วันนี้เอง จึงช้าไม่ได้ที่จะได้อัพเดทกัน

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผู้เขียนจะได้พาเข้าไปแนะนำวิธีติดตั้ง wordpress บนเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu 14.04.1 LTS

ขั้นตอนที่ 1 ติดตั้งซอฟต์แวร์ wordpress สำหรับการติดตั้งบนระบบโอเอส Ubuntu นั้นง่ายมากเพียงพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้


#apt-get install wordpress


ขั้นตอนที่ 2 สร้างซอฟต์ลิงค์ไปยังเวบไดเรคทอรี่ สำหรับเวบไซต์ของผู้เขียนได้เปลี่ยนจากตำแหน่งเดิมมาเป็น /var/www

#ln -s /usr/share/wordpress /var/www/html/wordpress

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการแตกไฟล์สำหรับใช้ติดตั้งฐานข้อมูลของระบบ wordpress เอง

#gzip -d /usr/share/doc/wordpress/examples/setup-mysql.gz
#/usr/share/doc/wordpress/examples/setup-mysql -n wordpress localhost

ขั้นตอนที่ 4 เป็นตัวอย่างการติดตั้งฐานข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์โดเมนอื่นๆ ของเราที่ต้องการ ขั้นตอนนี้สำคัญเพราะจะมีการใช้ค่อนข้างบ่อย บางครั้งหากต้องการเปิดเวบไซต์ใหม่หรือโดเมนใหม่ที่ต้องการใช้ wordpress

/usr/share/doc/wordpress/examples/setup-mysql -n wordpress_mydomain_org wordpress.mydomain.org
ขั้นตอนที่ 5 เป็นการสั่งรีสตาร์ทเซอร์วิส apache เพื่อโหลดค่าคอนฟิกต่างๆ ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว
/etc/init.d/apache2 restart

เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการติดตั้ง wordpress บนเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu 14.04.1  LTS  โดยให้เราเปิด url ที่ได้ทำการติดตั้งฐานข้อมูลลงไปในที่นี้ตามตัวอย่างมีอยู่ 2 urls คือ http://localhost และ http://wordpress.mydomain.org นั่นเองจากนั้นทำตามขั้นตอนในส่วนของ wizard จนจบ ส่วนเนื้อหาที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถเรียกดูได้จาก https://help.ubuntu.com/community/WordPress

ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ ด้วยสินค้าคุณภาพ ได้มาตรฐาน มั่นใจว่าใช้งานได้ทนทานและยาวนานกว่า นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับรถยนต์ vip-rent-car.com นำเสนอรถยนต์ที่ผ่านการทดสอบจากนิตยสารต่างๆ หรือสำนักข่าวยานยนต์ รวมถึงเรื่องราวที่ผู้เขียนสรุปขึ้นเอง สามารถเข้าไปติดตามกันได้เป็นประจำทุกๆ เดือน














วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

wordpress ไม่ยอมอัพเดท Plug-in หรือ Theme ให้แบบนี้ต้องแมนนวลสิครับ

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกคนรักโอเพนซอร์ส รวบรวมประสบการณ์จริงจากการใช้งานนำเสนอเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษา พัฒนาต่อยอด งานของผู้เขียนนอกจากเปิดเวบใหม่ http://gpsvehicle.weloveshopping.com เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ ด้วยสินค้ามาตรฐาน ราคาถูก เป็นทางเลือกของการลงทุนที่คุ้มค่า มาวันนี้ก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนกำลังเตรียมขึ้นเวบไซต์ใหม่ด้วยเอนจิ้นของ wordpress ก็ยังติดขัดอยู่เรื่อยๆ ในเรื่องราวต่างๆ

ผู้เขียนเองเพิ่งประสบความสำเร็จกับการ อัพเดท Wordpress อัตโนมัติด้วย vsftp บนเซิร์ฟเวอร์ 14.04.1 LTS ปัญหาหนักใจอีกอันหนึ่งที่พบเจอก็คือ ปลั๊กอินไม่สามารถอัพเดทได้ขึ้นข้อความผิดพลาดดังตัวอย่างผู้เขียนทำการอัพเดท Theme ใหม่ ปรากฎข้อผิดพลาดดังตัวอย่าง
The update process is starting. This process may take a while on some hosts, so please be patient.
Enabling Maintenance mode…

Updating Theme Twenty Twelve (1/1)

Downloading update from https://downloads.wordpress.org/theme/twentytwelve.1.6.zip
Unpacking the update…
An error occurred while updating Twenty Twelve: Could not create directory.
Disabling Maintenance mode…
All updates have been completed.

เอายังไงดี งานนี้ wordpress ไม่ยอมอัพเดท Plug-in หรือ Theme ให้แบบนี้ต้องแมนนวลสิครับ เมื่อกระทำแบบอัตโนมัติไม่ได้ มันก็ต้องลงมือด้วยตัวเองกันละ จากตัวอย่างจะพบลิงค์ที่ดาวน์โหลด Theme งานนี้ก็เข้าไปดาวน์โหลดเองก็ได้

ขั้นตอนที่ 1 ให้เปลี่ยนไดเรคทอรี่ไปยังที่เก็บ Theme หากต้องการอัพเดท Plug-in ก็เปลี่ยนไดเรคทอรี่ไปยังปลั๊กอินแทน

#cd /var/www/wordpress/wp-content/themes

ขั้นตอนที่ 2 ดาวน์โหลด Theme  ที่เราไม่สามารถอัพเดทได้
#wget https://downloads.wordpress.org/theme/twentytwelve.1.6.zip

ขั้นตอนที่ 3 ให้ทำงานสำรองข้อมูล Theme เก่าไว้ก่อนหรือย้ายไปยังโฟลเดอร์อื่น จากนั้นทำการแตกไฟล์ Theme ใหม่ออกมาเป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน
#unzip twentytwelve.1.6.zip

จะเห็นได้ว่าวิธีการอัพเดท Theme ใหม่แบบแมนนวลสามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยาก แถมประหยัดเวลา ตัดปัญหากวนใจ หรือการเตือนจากเวบไซต์มี Theme หรือ Plug-in ใหม่มาแล้วนะ เมื่อไหร่จะได้ทำการอัพเดทสักที 






วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

อัพเดท wordpress อัตโนมัติด้วย vsftp บน Ubuntu 14.04.1 LTS

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกดีๆ ของคนรักโอเพ่นซอร์ส รวบรวมประสบการณ์จริงของผู้เขียนที่ได้ผ่านการทดลองจริง ได้ผลจริง มาฝากกันเป็นประจำ การติดตั้งและใช้งาน wordpress นั้นเคยได้ยินชื่อมานาน แต่ยังไม่เคยได้ลองจริง ผู้เขียนทดลองติดตั้งสำเร็จมาร่วมเดือนแต่ยังหาวิธีการอัพเดท wordpress อัตโนมัติไม่ได้ พอคลิกไปอัพเดท ระบบจะพาไปสู่หน้าการป้อนรหัสสำหรับ ftp ซึ่งปกติเซอร์วิสนี้จะไม่ค่อยเปิดใช้กันเนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของระบบ

เซิร์ฟเวอร์ที่ผู้เขียนใช้งานอยู่เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์ โอเอสเป็น Ubuntu 14.04.1 LTS นั่นเองการติดตั้งแพ็คเกจสามารถดำเนินการโดยขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1  ติดตั้งโปรแกรม vsftpd ก่อน

#apt-get install vsftp

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดค่าคอนฟิกของไฟล์ vsftpd.conf ตามตัวอย่างที่ผู้เขียนเพิ่มเติมให้


listen=YES
anonymous_enable=NO
local_enable=YES
write_enable=YES
local_umask=022
dirmessage_enable=YES
use_localtime=YES
xferlog_enable=YES
connect_from_port_20=YES
chroot_local_user=YES
chroot_local_user=YES
secure_chroot_dir=/var/run/vsftpd/empty
pam_service_name=vsftpd
rsa_cert_file=/etc/ssl/certs/ssl-cert-snakeoil.pem
rsa_private_key_file=/etc/ssl/private/ssl-cert-snakeoil.key
ssl_enable=YES
allow_anon_ssl=NO
force_local_data_ssl=YES
force_local_logins_ssl=YES
ssl_tlsv1=YES
ssl_sslv2=NO
ssl_sslv3=NO
anon_world_readable_only=NO
anon_upload_enable=NO
anon_mkdir_write_enable=NO
connect_from_port_20=NO
listen_port=2112

ขั้นตอนที่ 3 สั่งหยุดเซอร์วิสและเปิดเซอร์วิสใหม่ 

 #stop vsftpd
 #start vsftpd

ขั้นตอนที่ 4 แก้ไขไฟล์ wp-config.php โดยเพิ่มข้อความด้านล่างต่อไปนี้เข้าไปยังไฟล์คอนฟิก

if(is_admin()) {
add_filter('filesystem_method', create_function('$a', 'return "direct";' ));
define( 'FS_CHMOD_DIR', 0751 );
}

ขั้นตอนที่ 5 เพิ่มบัญชีรายชื่อผู้ใช้ ftps สำหรับใช้ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ
#adduser ftps --home /var/www/wordpress

ขั้นตอนที่ 6 เพิ่มยูสเซอร์ ftps เข้าไปในกลุ่มของ www-data โดยให้เข้าไปแก้ไขไฟล์ /etc/group เพิ่มข้อความ ftps ในบรรทัดตามตัวอย่าง
www-data:x:33:ftps


ขั้นตอนที่ 7 กำหนดสิทธิ์ให้กับยูส
 #chgrp -R www-data /var/www/wordpress
 #chmod -R g+w /var/www/wordpress

เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการติดตั้งอัพเดท wordpress อัตโนมัติด้วย vsftpd บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu 14.04.1 LTS  ผู้เขียนยังจะมีเรื่องราวการอัพเดท wordpress อีกเป็นระยะๆ จนกว่าจะสามารถขึ้นไชต์ใหม่ได้สำเร็จ แน่นอนที่สุดหากมีข้อมูลใดดีๆ จะต้องรวบรวมมานำเสนอกันอย่างแน่นอน ต้องขอขอบพระคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการ gps ติดตามรถ ด้วยสินค้าคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานชั้นนำมาจากทั่วโลก