วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การคัดลอกอิมเมจไฟล์ไปเป็น lvm

กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งสำหรับเวบไซต์ดี ๆของคนรักลินุกส์ และชาวโอเพ่นซอร์สทุก ๆ ท่าน หลังจากที่ผู้เขียนได้เริ่มทำเวบไซต์ใหม่ thaigpstrackers.com รวบรวมเนื้อหาสาระดี ๆ ของผู้ใหบริการะบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ในย้านเรา เวบไซต์ thaigpstrackers.com เองผู้เขียนพัฒนาใหม่บน wordpress.com ซึ่งมีเครื่องมือหรือโมดูลให้เลือกจัดทำได้มากมาย แต่เบื้องต้นยังไม่ค่อยคล่อง หากได้ปรับตัวกันอีกสักระยะจะได้ปรับปรุงรูปแบบให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นได้ เวบไซต์ดี ๆ thaigpstrackers.com ขออนุญาตประชาสัมพันธ์กันไว้ณโอกาสนี้

เนื้อหาของเราในวันที่จะเป็นการคัดลอกอิมเมจเดิมที่จัดเก็บแบบไฟล์ ไปเป็นระบบ logical volume manager(lvm) เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ หรือมแแต่การสำรองข้อมูลแบบสแน็ปชอร์ต

สามารถทำได้ง่ายมาก สะดวกต่อการใช้งาน ไฟล์อิมเมจที่เก็บไว้ไปยังพาร์ติชั่นแบบ lvm


ขั้นตอนแรกตรวจสอบอิมเมจเดิมก่อนว่ามีขนาดเท่าไร โดยคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบคือคำสั่ง qemu_img 

#qemu-img info vm_ubuntu01
image: vm_ubuntu01
file format: raw
virtual size: 128G (137438953472 bytes)
disk size: 128G

ขั้นตอนที่สอง เป็นการสร้าง lvm วอลลุ่มสำหรับเตรียมการคัดลอกข้อมูลโดยใช้คำสั่ง lvcreate จากการตรวจสอบวอลลุ่มในขั้นตอนแรกมีค่าอยู่ที่  128G ดังนั้นตามตัวอย่างจึงสร้างขนาดของวอลลุ่มให้ไม่น้อยกว่า 128G ในที่นี่สร้างขนาด 130G

#lvcreate -L130G -n vm_03 innova-vg

ขั้นตอนที่สามเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการคัดลอกอิมเมจไปยังวอลลุ่มที่สร้างขึ้นใหม่ คำสั่งที่ใช้ก็คือคำสั่ง dd โดยเลือกต้นทางตำแหน่งของอิมเมจ และตำแหน่งของวอลลุ่มที่ต้องการคัดลอกออกไป 

#dd if=/mnt/usb/idcbackup/vm_ubuntu01 of=/dev/innova-vg/vm_03
หรือหากต้องการตรวจสอบความก้าวหน้าของคำสั่ง dd
#dd if=/mnt/usb/idcbackup/vm_ubuntu01 | pv -s 30G | dd of=/dev/innova-vg/vm_03 bs=4096
กรณีที่ไฟล์อิมเมจต้นฉบับเป็นรูปแบบ qcow2 ต้องทำการแปลงเป็นไฟล์เดิมก่อน มิฉะนั้นหากดำเนินการเสร็จสิ้นจะบูตไม่ขึ้น ผู้เขียนหาวิธีแก้เรื่องนี้ข้ามปีทีเดียว

 qemu-img convert vm_ubuntu01.qcow2 -O raw vm_ubuntu01.raw
จากสามขั้นตอนข้างต้นสามารถคัดลอกอิมเมจไปยังวอลลุ่มใหม่เพื่อเตรียมการสำหรับขึ้นระบบใหม่ หรือสร้างเกสต์โอเอสตัวใหม่นั่นเอง ในบางครั้งหากวอลลุ่มเดิมมีขนาดไม่เพียงพอ เราสามารถใช้คำสั่ง lvextend เพื่อขนาดวอลลุ่มเดิมเพื่อให้สามารถใช้งานได้อีกต่อไป

#lvextend -L+10G /dev/innova-vm/vm_03

ผ่านไปอีกหนึ่งบทความดี ๆ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอจากประสบการณ์จริงที่ได้พบเจอ ช่วงนี้มีการติดตั้งระบบโอเอสคอมพิวเตอร์ใหม่หมดเพื่อเตรียมการสำหรับนำเครื่องไปวางที่ CAT IDC ในช่วงเวลาเดือนนี้จะมี
เนื้อหาทยอยอัพเดทกันให้ทราบกันอีกในโอกาสต่อไป ยังไงอย่าลืมเวบไซต์ใหม่ของผู้ให้บริการจีพีเอสติดตามรถยนต์ สินค้าเกรดเอ นำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง thaigpstrackers.com