ผู้เขียนทดลองติดตั้ง macOS มาหลากหลายวิธีแต่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย ความตั้งใจครั้งนี้ทดลองเป็นครั้งสุดท้ายตามตำราของ macOS High Sierra ที่เผอิญค้นหาเจอดูเทคนิคการนำเสนอที่ละเอียดมาก มีภาพประกอบแทบจะทุกขั้นตอน คิดว่าครั้งนี้ไม่น่าพลาด และท้ายที่สุด ติดตั้ง macOS High Sierra Version 10.13 บนเครื่องพีซีโดยใช้ Vmware Workstation 12 Player ก็ประสบความสำเร็จจนได้
เนื้อหาที่จะแนะนำกันในวันนี้เป็นขั้นตอนที่ทำแบบกระชับเน้นผลลัพธ์มากกว่า เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ไม่ติดขัด หลังจากได้ macOS ก็จะเป็นการพัฒนา แอพพลิเคชั่นสำหรับ
GPS TRACKER บนมือถือแอปเปิลนั่นเองคือความตั้งใจ
ขั้นตอนที่ 1 สำคัญเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมของ ฮาร์ดแวร์หรือโน๊ตบุ๊ก ที่ใช้ต้องมีฟีเจอร์ Intel VT-d เทคโนโลยีด้วย ซีพียูที่ใช้เป็น Inter Core I7 แรม 8GBytes สำหรับสิ่งสำคัญในเรื่องนี้ต้องเข้าไปเปิดไบออสอนุญาตให้ใช้ VT-d นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 สำคัญเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมของซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้งานสำหรับการติดตั้ง macOS นั่นเอง
2.1 macOS High Siera Final by Techsviewer เป็นอิมเมจที่ใช้สำหรับการติดตั้งโอเอส
2.2 VMware-player-12.5.5-5234757 ซอฟต์แวร์สำหรับรันอิมเมจ เรื่องที่ต้องระวังก็คือห้ามใช้เวอร์ชั่นอื่นที่ใหม่กว่าหรือเก่ากว่านี้ เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนพลาดติดตั้งไม่สำเร็จครั้งที่แล้ว
2.3 unlocker208 ซอฟต์แวร์อีกตัวที่สำคัญเป็นการแก้ให้โปรแกรม VMware-player-12.5 สามารถรู้จัก macOS สำคัญอีกตัวหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากเตรียมความพร้อมทางฮาร์ดแวร์เรียบร้อย และมีข้อมูลซอฟต์แวร์ทั้งหมดในกระเป๋า การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปก็ทำได้ไม่ยาก ความสำเร็จมาเยือนแล้วกว่า 85 % ให้แตกไฟล์ในข้อ 2.1 ออก
ขั้นตอนที่ 4 ติดตั้งโปรแกรม VMware-player โดยในขั้นตอนที่จะสอบถามเรืองประเภทการใช้งานให้เตรียมอีเมลล์แอคเค้าท์สำหรับการลงทะเบียนให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 5 เป็นการแพทโปรแกรม VMware-player ให้รู้จัก macOS ไปแตกไฟล์ในข้อ 2.3 จากนั้นคลิกขวารันในโหมด Administrator ในเลือก win-update-tools ก่อนจากนั้นให้เปลี่ยนมาเป็น win-install เป็นอันสิ้นสุด
ขั้นตอนที่ 6 สร้างอิมเมจใหม่จาก VMWare Player ขั้นตอนนี้ให้คงค่าตำแหน่งที่จะติดตั้งให้เหมือนเดิมตามดีฟอลต์ทุกประการเพื่อให้โปรแกรมอื่น ๆ ยังมองเห็นนั่นเอง สาระที่สำคัญคือการตั้งค่า harddisk ขนาด 40GBytes เมมโมรีขนาด 4GBytes เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้ราบรื่นขึ้น แต่ยังไม่ต้องเปิดรันใช้งาน
ขั้นตอนที่ 7 ให้ต้้งค่า Harddisk แล้วอิมพอร์ตจากของเดิมมายังไฟล์อิมเมจที่ดาวน์โหลดมาแล้วในข้อ 2.1 เมื่อทำเสร็จเรียบร้อย ยังไม่ต้องเปิดรันไฟล์อิมเมจ
ขั้นตอนที่ 8 เป็นขั้นตอนที่สำคัญคือให้เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิกของ VMware-player ในขั้นตอนสุดท้ายให้เพิ่มข้อความบรรทัดสุดท้าย smc.version = "0" ในไฟล์ macOS 10.12.vmx จากนั้นกดจัดเก็บเป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน ปรบมือให้ตัวเองได้เลยเรามาได้ไกลกว่า 90 % เหลือเพียงรันโปรแกรมและติดตั้งซอฟต์แวร์ macOS
ขั้นตอนที่ 9 ให้ดำเนินการรันอิมเมจ โดยเปิดโปรแกรม VMware-player เห็นหน้าจอเริ่มทำงานของ macOS ก็สบายใจได้เลย
หลังจากนั้นก็ดำเนินการติดตั้งซอฟต์แวร์โอเอสเหมือนวินโดร์ทั่วไป ปัจจุบันแต่ละค่ายก็ทำออกมาให้ง่าย ๆ เพียงแค่ 1 คลิกก็ติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อย ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้มาได้ ก็ถือเป็นยอดเซียนคนหนึ่งเหมือนกัน เพราะหากไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องทำตามไปก็ไม่มีทางทำงานได้ เพราะรายละเอียดมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างเยอะทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น